อยากเก็บความประทับใจในทริปพลับพลึงธารเมื่อหลายปีก่อนมาเล่าให้ทุกคนได้เห็นภาพความสวยงามของเจ้าพลับพลึงธารกันอีกครั้ง หลังจากที่ผมเห็นข่าว การใกล้สูญพันธ์ุของมันจากสำนักข่าวแห่งหนึ่งอีกครั้ง และเหมือนว่าปีนี้ (2555) อาจจะลงความเห็นว่าไม่เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวเหมือนอย่างที่เคยทำมาทุกปี ให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสเห็นและสัมผัสพลับพลึงธาร พืชน้ำ ที่หายากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งและมีแห่งเดียในโลกที่คลองนาคาจังหวัดระนอง
ช่วงที่ผมไปครั้งนั้นต้องบอกว่าเป็นโอกาสที่ดีจริงๆที่ได้เห็นแบบนี้ และไม่คิดว่าจะมีโอกาส แต่ก็ได้รับการเชิญชวนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ ให้เดินทางไปเยี่ยมชม เพราะมันต้องการทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟู การปลูกเพิ่มอย่างมาก ไม่ใช้แค่อนุรักษ์ต้นมันเท่านั้น แต่การจะให้มันรอดได้ตกปกป้องพื้นที่ ปกป้องสายน้ำไปด้วยในตัว เพราะมันไม่สามารถจะไปขยายพันธ์ุได้ทกที่เหมือนพืชอื่นๆ เปนความภูมิใจนะครับที่เมืองไทยเรายังมีที่ให้มันได้งอกงามแบบนี้
การเข้าไปเยี่ยมชมเป็นนโยบายหนึ่งที่จะสร้างการรับรู้และรวมอนุรักษ์ให้พลับพลึงธารยังคงมีอยู่ต่อไป ก่อนการเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมจึงต้องผ่านศูนย์ให้ความรู้ของชมรมผู้ประกอบการในพื้นที่เสียก่อน เข้าทำนิทรรศการไว้ให้เราได้ศึกษาเกี่ยวกับพลับพลึงธารในหลายแง่มุม
เมือ่วันที่16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ทาง อบต.นาคา อ.สุขสำราญ ก็ได้มีการประชุมหารือกับผู้ประกอบกาในพื้นที่ถึงฤดูการท่องเที่ยวคลองนาคาปีนี้ 2555 ว่าจะมีมีทิศทางอย่างไรกันดี โดยปกติจะเปิดให้เข้าเที่ยวชมได้ ในช่วง ตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี แต่ปีนี้ดูว่า พลับพลึงธารจะถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก การเปิดเทศกาลล่องแพชมพลับพลึงธาร อาจจะไม่เหมาะสม อาจมีการปรับเปลี่ยแผน จากการเที่ยวชมเป็นการเข้าไปฟื้นฟูแทน หรืออาจจะเลือกปิดไปเลย เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวเองก็เป็นไปได้ ยังไงซะสะดุดตาจะคอยตามข่าวให้ต่อไปครับว่าปีนี้จะเปิดหรือไม่
ผมจึงขอนำภาพจากทริปที่เคยมา มาลงให้ชมเพื่อหวังว่า จะเป็นการช่วยกันอนุรักษ์และให้ความรู้กันในอีกทางหนึ่งด้วย ว่าความงามแบบนี้เราคงต้องช่วยกันดูและฟื้นฟูกันให้มาก
เริ่มต้นการเดินทางเข้าไปด้วยแพไม้ไผ่ แบบที่นั่งแล้วเปียก
เจอต้นพลับพลึงธารแล้ว
ถ่ายพลับพลึงธารไว้เป็นที่ระลึก
เดินทางเข้าไปจุดที่มีเยอะมากๆและถ่ายสวยจริงๆ
จอดแพก่อน ลงเดินต่เข้าไปอีกนิด น้ำลึกเท่าหัวเข่าครับ
ต้นพลับพลึงธารลู่ตามน้ำสวยมาก
เยอะเลยครับพลับพลึงธาร
พลับพลึงธาร ที่คลองนาคา
เราถ่ายรูปกันสนุกเลยครับบันถึงภาพไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เห็น ช่างภาพจากหลายสำนัก
ดอกพลับพลึงธาร
ดอกพลับพลึงธาร
ดอกพลับพลึงธาร จะขึ้นในที่น้ำไม่ลึก มีแสงแดดส่องถึง และขึ้นเป็นกลุ่มแบบนี้
ริมๆน้ำ กระแสน้ำจะไม่เชี่ยวมากพลับพลึงก็สามารถขึ้นได้และอยู่รอดจากการถูกพัดได้
อาหารเที่ยงระหว่างเที่ยว
แล้วเจ้าพลับพลึงธารหน้าตาเป็นอย่างไร
พลับพลึงธาร มีชื่อในภาษาอังกฤษที่น่าสนใจมากเลยครับ ว่า "Water onion (แปลง่ายๆว่า หัวหอมน้ำ)" อาจจะเป็นด้วยลักษณะของหัวมันที่มรูปร่างเหมือนหัวหอม จึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า "หัวหอมน้ำ" ยังมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Crinum thaianum" ลักษณะดอกพลับพลึงธารเมื่อบานก็เป็นสีขาว ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ใครเคยเห็นต้นพลับพลึง ต้นและดอกแบบนั้นเลยครับ สวยมาก แต่เจ้าพลับพลึงธารนี้ขึ้นและอยู่ได้เฉพาะในน้ำ และต้องเป็นน้ำที่มีการไหลแต่ต้องไม่เชี่ยวจนเกินไป น้ำต้องสะอาด พื้นต้องเป็นดินปนทราย และต้องมีแดดส่องถึงด้วย ซึ่งเราหาที่แบบนี้ได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน
แล้วที่เห็นมีข่าวว่ามีการลักลอบเอาหัวเจ้าพลับพลึงธารไปขาย ประดับตู้ปลา อย่างนั้นพลับพลึงธารจะอยู่ได้หรือ คำตอบคือ การเอาไปเลี้ยงนอกพื้นที่นั้นเป็นไปได้ แต่การเลี้ยงให้รอดนั้นยากมาก เพราะฉะนั้นอย่าซื้อเลยครับให้มันได้อยู่ในที่ๆเหมาะสมดีกว่าครับ
แล้วมันจะบานช่วงไหน
พลับพลึงธาร จะบานสวยช่วงปลายฝนต้นหนาว ก็ราวปลายเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงปลายๆธันวาคมโน้นเลยครับ พอช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นช่วงรณรงค์ปลุกพลับพลึงธารกันทุกปี เพื่อเพิ่มปริมาณ และอนุรักษ์ไปด้วย เพราะกว่ามันจะโตได้ ต้องผ่ายช่วงฤดูฝนไปอีก ช่วงนี้แหละครับที่จะอันตรายเพราะน้ำหลาก ต้นพลับพลึงธารก็จะถูกหลากหายไปด้วย พอเข้าหน้าหนาวก็จะเหลือน้อยลงทุกปี
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การเข้าไปเที่ยวชม ให้ติดต่อ ผู้ประสานงาน คุณชำนิ อุ่นขาว
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวชุมชน: ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนเพลินไพรศรีนาคา
ที่ตั้ง 2/4 หมู่ 5 บ้านฝ่ายท่า ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง 85120
การเดินทางไปเยี่ยมชม ทำอย่างไร
เดินทางจากตัวเมืองระนอง เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ระนอง-พังงา) ระยะทาง 52 ก.ม. ถึงตำบลนาคา ปากทางเข้ามีป้ายวงกลมสีน้ำตาล มีข้อความ "พลับพลึงธารหนึ่งเดียวในโลก" และมีป้ายวิสาหกิจเพลินไพรศรีนาคา และเลี้ยวเข้าไป ระยะทาง 4.8 กิโลเมตรถึงชุมชน
ปีนี้คลองนาคาจะเปิดหรือไม่รอตามข่าวนะครับ
No comments:
Post a Comment